วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

vb ขั้นพื้นฐาน



 ประวัติความเป็นมาของภาษา Visual Basic
               ภาษา BASIC ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1963 โดย Hohn Keneny และ Thomas Kurtz ที่วิทยาลัย Dartmouth ในเบื้องต้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาภาษา Basic ขึ้น เพื่อใช้ในการสอนแนวในการเขียนโปรแกรม โดยเน้นที่รูปแบบง่าย ๆ เพื่อสะดวกในการใช้งาน  ในปี 1970 Microsoftได้เริ่มผลิตตัวแปรภาษา Basic ใน Rom ขึ้น เช่น Chip Radio Sheek TRS-80 เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาเป็น GWBasic ซึ่ง เป็น Interpreter ภาษาที่ใช้กับ MS-Dos และในปี 1982 Microsoft QuickBaic ได้รับการพัฒนาขั้นโดยเพิ่มความสามารถในการรันโปรแกรมให้เป็น Executed Program รวมทั้งทำให้ Basicมีความเป็น "Structured Programming" มากขึ้น โดยการตัด Line Number ทิ้งไป เพื่อลบข้อกล่าวหาว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างในลัก าษณะSpaghetti Code มาใช้รุปแบบของ Subprogram และ User Defined รวมทั้งการใช้ Structured Data Type และการพัฒนาการใช้งานด้านกราฟฟิกให้มีการใช้งานในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีการใช้เสียงประกอบได้เหมือนกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เช่น Turbo C และ Turbo Pascal เป็นต้น
     Visual Basicเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานพัฒนาโปรแกรมบน ระบบ Windows เนื่องจาก เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีในลักษณะ Visualizeนั่นก็คือจะสะดวกในการหยิบเครื่องไม้เครื่องมือที่โปรแกรมได้จัด เตรียมไว้ให้สำหรับออกแบบหน้าจอและสิ่งต่าง ๆ สำหรับในการเขียนโปรแกรมให้เรียบร้อย ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนเวลาจะออกแบบหน้าจอก็ยังคงต้องมานั่งเขียน  Source Code ให้ลำบาก
     Visual Basicเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งาน ที่ใช้ได้ตั้งแต่ระดับต้น เพื่อใช้สร้างโปรแกรมง่าย ๆ บน Windows หรือโปรแกรมเมอร์ระดับกลาง ที่จะเรียกใช้ฟังชั่นต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนโปรแกรมเมอร์ระดับมืออาชีพ ที่จะพัฒนาโปรแกรมในระดับสูง  โดยการใช้ Object Linking and Embedding (OLE) และ Application Programming Interface (API) ของระบบ windows มาประกอบการเขียนโปรแกรม
  Visual Basic ทำอะไรได้บ้าง
เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างโปรแกรมต่างๆ  เช่น
-  โปรแกรมที่รันบนระบบปฏิบัติการ   windows เช่น  โปรแกรมคำนวณเลข
-  โปรแกรมฐานข้อมูล เช่น  Microsoft  access , Microsoft  SQL server
-  คอมโพแน้นต์ทางด้าน Active X
-  โปรแกรมที่รันบนอินเตอร์เน็ต
  ส่วนประกอบของ Visual Basic
โดยทั่วไป เราจะใช้   Project  Standard . EXE ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรมที่รันบนวินโดวส์
Project  คือ กลุ่มของ File  ที่เราจะนำมารวมกันเพื่อสร้างโปรแกรม
รายระเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ของหน้าจอ
  • Menu bar 
  • Tool bar
  • Tool box
  • Project  explorer
  • Properties  window
  • Form
  หลักในการเขียนโปรแกรมใน Visual Basic ได้แบ่งออกเป็น  2  ขั้นตอนหลัก คือ
  • การออกแบบหน้าจอของโปรแกรม เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ เรียกว่า  ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส : user interface 
  • การเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล บนฟอร์มให้เหมาะสม และเขียนคำสั่งตอบสนองอีเว็นต์

  การออกแบบหน้าจอของโปรแกรมด้วยคอนโทรล

คอนโทรล (Control)   เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบคอนโทรลที่เป็นพื้นฐาน
เท็กบ็อกซ์  text box ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้
เลเบล (Label)  ใช้แสดงข้อมูลบางอย่างแก่ผู้ใช้
ปุ่มคำสั่ง  (Command button)  ให้ผู้ใช้คลิกเมาส์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง
คุณสมบัติ (Properties) คือ ลักษณะต่างๆ  ของคอนโทรลที่ถูกนำมาวางบนฟอร์ม ที่เราสามารถกำหนดได้เช่น  ข้อความที่ปรากฏบนคอนโทรล ,  รูปแบบฟอนต์
  • เท็กบ็อกซ์  text box มีคุณสมบัติ  text  ที่ใช้กำหนดข้อความที่จะแสดง
  • เลเบล (Label)  มีคุณสมบัติ  Caption  ที่ใช้กำหนดข้อความที่จะแสดง
  • ปุ่มคำสั่ง  (Command button)  มีคุณสมบัติ  caption  ที่ใช้กำหนดข้อความที่จะแสดง







   ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual Basic 6
vb_001.jpg
ส่วนประกอบ
รายละเอียด
Formเป็นส่วนที่ใช้สำหรับจอภาพของโปรแกรมขึ้นใช้งาน โดยจะทำหน้าที่เป็น Background ขอจอภาพ
Toolboxเป็นส่วนที่ประกอบด้วย Icon ต่าง ๆ หรือ ที่เรียกว่า  Control ที่จะนำไปใช้งานโดยการนำไปวางบน Form
Toolbarเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นเครื่องมือที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ
Project Explorer Windowเป็นส่วนที่ใช้สำหรับเรียก Form ต่าง ๆ ขึ้นมาแก้ไข ในกรณีที่มี Form มากกว่า    1 Form
Properties Windowเป็นจอภาพที่ใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Project ที่เราได้ออกแบบไว้เพื่อให้ทำงานตามความต้องการ
Form Layout Windowใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของ Form ที่จะให้แสดงอยู่ในจอภาพเมื่อทำการ Run
   ทูลบาร์ (Toolbar) เป็นแถบสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับเข้าถึงชุดคำสั่งของ Visual Basic ได้ทันที โดยจะนำคำสั่งที่ถูกใช้งานบ่อย ๆ มาแสดง
vb_003.jpg
ทูลบาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. Standard Toolbars เป็นทูลบาร์มาตรฐานประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการ Project
2. Edit Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการเขียนโค้ดใน code editor
3. Debug Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบการทำงานการประมวลผลโปรแกรม
4. Form Editor Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการปรับขนาด, ย้าย, เปลี่ยนตำแหน่งคอนโทรลต่าง ๆ ที่อยู่บนฟอร์ม
ไอคอน
ชื่อ
รายละเอียดการใช้งาน
add_exe
Add Standard EXE Projectใช้สำหรับเปิด Project ใหม่ เพื่อออกแบบ Program ตามที่ต้องการ
add_frm
Add Formใช้ในการเพิ่ม Form เข้าไปไว้ใน Project ที่มีการใช้งานมากกว่าหนึ่ง Form
menu
Menu Editorใช้เรียก Menu Editor ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการสร้าง Menu ให้กับ Form
open
Openใช้สำหรับเรียก Project งานที่ได้บันทึกมาก่อนหน้าแล้ว
save
Saveใช้ในการบันทึก Project ที่ได้สร้างขึ้นมา
cut
Cutใช้สำหรับตัด Object ต่าง ๆ ที่อยู่บน Form เพื่อนำไปใช้งานตามที่ต้องการ
copy
Copyใช้สำหรับ Copy Object บน Form
past
Pasteใช้สำหรับ Paste Object ที่ได้ทำการ Cut หรือ Copy ไว้
find
Findใช้สำหรับค้นหาคำใน Editor ซึ่งใช้ในกรณีที่มีการเขียนคำสั่งใน Form Editor
back
Undo Typingใช้สำหรับยกเลิกคำที่พิมพ์ใน Editor ใน Form Editor
forword
Redo Typingใช้สำหรับทำซ้ำคำที่พิมพ์ใน Editor
start
Startใช้สำหรับ Run Project ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อดูผลลัพธ์ก่อนการนำไปใช้งานต่อไป
puse
Breakใช้สำหรับหยุดการทำงาน Project ชั่วคราว
stop
Endใช้สำหรับหยุดหรือยกเลิกการ Run Project
project_ep
Project Explorerใช้แสดงคุณสมบัติหรือว่ารายละเอียดของ Project ว่าประกอบไปด้วย Form หรือว่า Module ใดบ้าง
propertie_win
Project Windowใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติของ Project และ Form
frm_layout
Form Layout windowใช้สำหรับเรียกจอภาพ Form Layout ซึ่งใช้แสดงตำแหน่งของ Form บนหน้าจอ
objbrows
Object Browserใช้สำหรับเรียกจอภาพ Object Browser ซึ่งใช้แสดง Class และสมาชิกของแต่ละ Class
toolbox
Tool Boxใช้สำหรับเรียก Tool Boxขึ้นมาบนจอภาพ
pix_frm2
ตำแหน่งของ Formใช้บอกตำแหน่งในแกน x และ y ของ Form
pix_frm
ขนาดของ Formใช้บอกถึงขนาดของ Form ตามแนวแกน x และ y
   Toolbox คือ แถบสัญลักษณ์ Controls ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. คอนโทรลภายใน (Intrinsic controls) เป็นชุดคอนโทรลมาตรฐานของ Visual Basic ทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้ Form เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์ คอลโทรลชุดนี้จะถูกเรียกขึ้นมาอัตโนมัติ สามารถเลือกใช้งานคอลโทรลกลุ่มนี้ได้ทันที
vb_002.jpg
ไอคอน
ชื่อตัว Control
ชื่อ Class
คำอธิบาย
vb03ctrchk
Check boxCheckBoxใช้กับการเลือกแบบ ถูก/ผิด ( True/False, Yes/No)
vb03ctrcbo
Combo boxComboBoxเป็นตัว control เป็นการผสมระหว่าง Text box กับ List box ซึ่งจะปรากฏรายการ เมื่อมีการคลิกลูกศร และ Combo box ไม่สนับสนุนการเลือกแบบหลายค่า
vb03ctrcmd
Command buttonCommandButtonปุ่มคำสั่งเป็นตัว control ทีใช้ในทุกฟอร์ม ตามปกติจะเขียนคำสั่งใน Click event procedure ของตัว control นี้
vb03ctrdata
DataDataเป็นตัว control ที่สามารถรวมข้อมูลกับฐานข้อมูลได้ และเป็นส่วนที่ Visual Basic ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระหว่างตัว control บนฟอร์มกับฟิลด์ใน table ของฐานข้อมูล โดย Data จะทำงานกับ Database Jet ของฐานข้อมูล แต่ไม่สามารถทำงานกับ ActiveX Data Object (ADO) ได้
vb03ctrdir
Directory List boxDirListBoxเป็น List box แบบหนึ่ง ที่แสดงไดเรคทอรีและพาร์ทที่เลือก
vb03ctrdrv
Drive List boxDriveListBoxคล้ายกับ Combo box ที่ใช้เลือกชื่อของไดร์ฟในระบบ
vb03ctrfil
File list boxFileListBoxเป็น List box ชนิดพิเศษที่ใช้แสดงชื่อไฟล์ในไดเรคทอรี
vb03ctrfra
FrameFrameสามารถใช้เป็น container สำหรับตัว control อื่น
vb03ctrHsc

 vb03ctrVsc
Horizontal และ
Vertical Scroll Bar
HScrollBar และ    VScrollBarใช้เป็นแถบเลื่อนแบบ stand-alone แต่มักจะไม่ค่อยมีการใช้ เพราะตัว control อื่น ๆ ส่วนใหญ่ จะมีแถบเลื่อนของตัวเอง
vb03ctrImg
ImageImageเป็นตัว control ใช้เก็บภาพคล้ายกับ Picture box แต่ไม่สามารถทำงานแบบ container ได้ Image มีข้อดีที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยกว่า Picture box
vb03ctrlbl
LabelLabelเป็นตัว control ที่ใช้แสดงข้อความ หรือป้ายชื่อ
vb03ctrline
LineLineเป็นตัว control ใช้สำหรับการตกแต่งด้านกราฟฟิก
vb03ctrlst
List boxListBoxเป็นตัว control ที่เก็บรายการของค่า และให้ผู้ใช้เลือก  ซึ่งสามารถเป็นการเลือกค่าเดียวหรือหลายค่า ขึ้นกับการกำหนดคุณสมบัติ MultiSelect
vb03ctrole
OLE containerOLEเป็นตัว control ที่สามารถเป็น Host window ให้กับโปรแกรมภายนอก เช่น Microsoft Excel หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นการสร้าง window ให้กับโปรแกรมอื่นบนโปรแกรมประยุกต์ Visual Basic
vb03ctropt
Option buttonOptionButtonเป็นตัว control ใช้กับกลุ่มตัว control โดยให้เลือกได้เพียงตัว control เดียวต่อครั้งหนึ่ง เมื่อมีการเลือกตัว control ในกลุ่มแล้ว ตัว control อื่นในกลุ่มจะเปลี่ยนจากการเลือกโดยอัตโนมัติ
vb03ctrPic
Picture boxPictureBoxใช้แสดงภาพในฟอร์แมต BMP, DIB (bitmap), ไอคอน (ico), WMF (metafile), GIF และ JPEG เป็นต้น 
vb03ctrshp
ShapeShapeเป็นตัว control ใช้สำหรับการตกแต่งด้านกราฟฟิก
vb03ctrtxt
Text boxTextBoxเป็นตัว control ที่เป็นฟิลด์ ใช้เก็บตัวอักษรที่สามารถแก้ไขโดยผู้ใช้ได้ และได้รับการใช้งานมาก
vb03ctrtimer
TimerTimerเป็นตัว control พิเศษที่ไม่เห็นเมื่อเวลาเรียกใช้ เป็นตัวจัดการและควบคุมที่เกี่ยวกับเวลา
2. คอนโทรล ActiveX (ActiveX controls) เป็นชุดคอนโทรลเพิ่มเติมที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้   เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การเพิ่มคอนโทรลกลุ่มนี้เข้ามาในทูลบ๊อกซ์ทำโดยเลือกเมนู Project/Components

  Form Designer
เป็นส่วนที่ใช้ออกแบบการแสดงผลส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ ฟอร์มเป็นออบเจ็กต์แรกที่ถูกเตรียมไว้ให้ใช้งาน คอลโทรลทุกตัวที่ต้องการใช้งานจะต้องนำไปบรรจุไว้ในฟอร์ม นำคอลโทรลมาประกอบกันขึ้นเป็นโปรแกรมประยุกต์ ทุกครั้งที่เปิด Visual Basic ขึ้นมา หรือ สร้าง Project ใหม่จะมีฟอร์มว่าง 1 ฟอร์มถูกสร้างเตรียมไว้เสมอ
 Project Explorer
Project Explorer ใช้สำหรับบริหารและจัดการโปรเจ็กซ์ โดยจะแสดงองค์ประกอบของแต่ละโปรเจ็กต์แบบโครงร่างต้นไม้ (tree-view)ตัวโปรเจ็กตจะหมายถึงโปรแกรมประยุกต์ซึ่งจะอยู่ส่วนบนสุด  ถัดมา จะแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์นั้น ๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ฟอร์มโมดูล รายงาน เป็นต้น ถ้ามี 2 โปรเจ็กต์ขึ้นไป ก็จะแสดงแยกออกเป็นส่วนต่างหากอีกโปรเจ็กต์ ถ้าต้องการใช้งานส่วนใด ของโปรเจ็กต์ไหนก็สามารถคลิ๊กเลือกได้ทันที

   
Project Explorer แบบโปรเจ็กต์เดียว และ แบบหลายโปรเจ็กต์
 ส่วนประกอบของโปรเจ็กต์

Project (n)
คือโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาอยู่ มีนามสกุล .vbp
Form (n) .frmเป็นฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้น ๆ ใน 1 โปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ มีนามสกุล
Modulesเป็นที่เก็บชุดคำสั่งที่คุณเขียนขึ้นมา โดยจะเก็บชุดคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆมีนามสกุล .bas
Class Modulesเป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls
User controlsเป็นส่วนที่เก็บคอนโทรล ActiveX ที่คุณสร้างขึ้นมา มีนามสกุล .ctl
Designersเป็นส่วนของรายงานที่ถูกสร้างขึ้นมีนามสกุลเป็น .dsr
 Properties Window
หน้าต่างคุณสมบัติเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของออบเจ็กต์ที่ถูกเลือก (adtive) หรือได้รับความสนใจ (focus) อยู่ขณะนั้น ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ของคอลโทรลเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการใช้งานได้ทันที
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb109.gif
ในหน้าต่างคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วยแท็ป 2 แท็ป คือ
1. แท็ป Alphabetic เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ เรียงตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
2. แท็ป Categorized เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ โดยการจัดกลุ่มของคุณสมบัติที่มีหน้าที่คล้ายกัน
 หน้าต่าง Form Layout
เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของฟอร์ม และสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์ม ที่ปรากฎบนจอภาพในขณะประมวลผลได้ โดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลอง ที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการ drag เมาส์ ไปยังตำแหน่งทีคุณต้องการ โดยจะมีผลในขณะประมวลผลเท่านั้น
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb110.gif
 Immediate Window
เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีทีคุณต้องการทราบผล การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโปรแกรมย่อยต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อคุณสั่งประมวลผลโปรเจ็กต์ หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb112.gif
 หน้าต่าง New Project
หน้าต่าง New Project จะปรากฎขึ้นมาเมื่อเลือกเมนู File/New Project กรอบโต้ตอบนี้ จะแสดงชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่คุณต้องการพัฒนา ซึ่งจะคล้ายกับตอนที่เปิดโปรแกรม Visual Basic ขึ้นมาครั้งแรก
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb113.gif
 หน้าต่าง Code Editor
เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอลโทรล  ต่าง ๆ
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb114.gif 








 การสร้างฟอร์ม Visual Basic Project
vb_005.jpgวิธีการ
1. คลิกที่เมนู File >> New Project
2.  เลือก Standard EXE
vb_006.jpg3.  3.คลิกปุ่ม Open
vb_007.jpg




ตัวอย่างหน้าจอ
Form Design Window






4.  คลิกเลือก Control Label
5.  คลิกค้างไว้แล้วลากทแยงมุมให้ได้ความกว้างที่ต้องการ แล้วปล่อย บน Form
vb_008.jpg
6.  กำหนดคุณสมบัติ ของ Caption “ กรุณาพิมพ์ชื่อ”
7. ตั้งชื่อให้กับ Control  Label ใหม่ว่า  lbl_name
vb_010.jpg
8. สร้างออปเจ็กต์ให้ครบตามที่ต้องการ
vb_011.jpg9. ทดสอบโปรแกรมคลิกที่ไอคอน  vb_021.jpg
**การตั้งชื่อคอนโทรล ควรคำนึงถึงดังนี้
          1. ห้ามเว้นวรรค
           2. ต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษรเท่านั้น
           3. มีความยาวได้ไม่เกิน  40  ตัวอักษร
           4. สามารถใช้ตัวอักษร  ตัวเลข  เครื่องหมาย
UnderScore(_) ในการตั้งชื่อคอนโทรลได้


 การบันทึกฟอร์มและโปรเจ็กต์
วิธีการ
1. คลิกที่เมนู File >> Save Project
vb_012.jpg

2.  เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์
3.  ตั้งชื่อ Form 
4.  คลิกปุ่ม Save

vb_013.jpg
       
เมื่อบันทึกฟอร์มเสร็จแล้ว โปรแกรมจะให้บันทึกโปรเจ็กต์ต่อ
vb_014.jpg5. ตั้งชื่อ Project
6. คลิกปุ่ม Save

* การตั้งชื่อควรใช้ภาษาอังกฤษ




 การเปิดและแก้ไข
วิธีการ
1. คลิกที่เมนู File >> Open Project
vb_015.jpg 
2. เลือกหาตำแหน่งที่เก็บไฟล์
3. เลือกไฟล์ โปรเจ็กต์
4. คลิกปุ่ม Open
vb_016.jpg
5. ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อฟอร์มที่ต้องการเปิด บริเวณ Project Explorer
vb_017.jpg
 การเพิ่มฟอร์ม
วิธีการ คลิกที่ทูลบาร์    vb_019.jpg      เลือก  Form
vb_018.jpg

vb_020.jpg

 การลบฟอร์ม
วิธีการ ที่ Project Explorer
1. คลิกขวาบริเวณชื่อฟอร์มที่ต้องการลบ
2. เลือก Remove Form (n)























 การใช้ Control
1. คลิกที่ Control ที่ต้องการ ใน Toolbox
2. เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการวาด Control นั้น แล้วคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วก็ลากเมาส์ในรูปแบบทแยงมุม ตามต้องการ แล้วก็เลิกคลิกค้าง หลังจากนั้นก็จะปรากฎรูปของ Object ที่เราสร้างขึ้น
ตัวอย่าง  ในตัวอย่างนี้เราจะมาลองวาด Control Command Button บน Form เพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้

1.  เมื่อเปิด File ใหม่ขึ้นมาแล้วเราจะพบกับ Form เปล่า ๆ
form1
2.    แล้วทำการ Click ที่ Object Command Button ต่อจากนั้นเราก็นำมาวาดลงบน Form
form2
3.    เราจะได้ Command Button ที่มีขนาด 1815 x 495
form3

 การกำหนด Property ให้กับ Object 
         การกำหนด Property นั้น จะช่วยให้ Object ต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือวัตถุประสงค์ตามที่เราต้องการ โดยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ จะแตกต่างกันไปตามชนิดของแต่ละ Object นั้น ๆ
vb_025.jpgซึ่งเราสามารถที่จะนำมารวมไว้ในโปรแกรมเดียวกันตามที่เราต้องการได้
    การกำหนด Property ให้กับ Object ทำได้ 2 วิธี คือ
1.    Click ที่ Object หรือ Form ที่ต้องการกำหนด Property จะปรากฎจุดสี่เหลี่ยมล้อมรอบ Object นั้น ยกเว้น Form ซึ่งจะมองไม่เห็นจุดดังกล่าว Click ปุ่มขวาจะปรากฎเมนูขึ้นบนจอภาพ ให้เลือกเมนู Property
2.    เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Object หรือ Form จนมีจุดล้อมรอบ แล้วให้กด F4 จะปรากฎจอภาพสำหรับกำหนด Property ของ Form
  
Control และ Property 
Control มาตรฐานที่ปรากฎอยู่ Toolbar จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละ Control จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังมี คุณสมบัติที่เหมือนกันอยู่ ซึ่งได้แก่ Property "Caption" ของ Object "Label" และ "Command Button" ต่างก็มีหน้าที่กำหนดข้อความบน Object นั้น ๆ



lbl_ico  Label    เป็น Control ที่ใช้สำหรับเขียนข้อความบนจอภาพ ซึ่งมี Property ต่าง ๆ ดังนี้

Property
ความหมาย
Captionใช้กำหนดข้อความให้แสดงบน Object
Fontใช้กำหนดรูปแบบของตัวอักษรของ Object
Fore Colorใช้กำหนดสีของตัวอักษร
Alignmentใช้กำหนดรูปแบบในการแสดงผลของข้อความที่กำหนดใน Property "Caption"
Back Colorใช้กำหนด ฉากหลัง

txt_ico TextBox เป็น Control ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลจาก Keyboard ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

Property
หน้าที่การทำงาน
Textใช้สำหรับรับข้อมูลทางแป้น Keyboard  และทำการแสดงผลออกทางจอภาพ
Widthใช้กำหนดความยาวของ Object
Heightใช้กำหนดความสูงของ Object
Leftใช้กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของ Object ในแกน X
Topใช้กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของ Object ในแกน Y
MaxLengthใช้กำหนดจำนวนคตัวอักษรสูงสุดที่จะรับได้ใน Object
MultiLineเป็นข้อมูลชนิดตรรกะ ซึ่งจะมีค่าเป็น จริง (True) หรือ เท็จ (False)
cmd_ico  Command Button  เป็น Control ที่ใช้สำหรับรับเงื่อนไขหรือว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นภายใต้การทำงานของปุ่มนี้ โดยจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

Property
หน้าที่การทำงาน
Enableใช้กำหนด Object นั้น ๆ ให้ทำงานตามคำสั่งที่ได้กำหนดไว้ เช่น True คือ ให้ทำงาน ถ้าเป็น False ก็ไม่ทำงาน
Defaultการกำหนดปุ่มที่เราได้สร้างขึ้นมาเป็นปุ่มแรกในการเลือกการทำงาน
ToolTipTextใช้แสดงข้อความอธิบายเมื่อเม้าส์ไปชี้ในบริเวณที่กำหนดไว้
Pictureใช้แสดงรูปภาพบนปุ่ม
Styleใช้กำหนดรูปแบบของปุ่ม ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. Standard คือ ปุ่มที่มีเฉพาะข้อความเท่านั้น
2. Graphical คือ ปุ่มที่สามารถเพิ่มเติมรูปภาพไว้บนปุ่มได้ โดยจะทำงานคู่กับ Property "Picture"
TabIndexใช้กำหนดลำดับการทำงานของ Object









 รู้จักกับตัวแปร
       ตัวแปรมีหน้าที่เก็บข้อมูลในการทำงานของโปรแกรมไว้เป็นการชั่วคราว ตัวแปรที่กำหนดขึ้นจะต้องประกอบด้วยชื่อและชนิดของข้อมูล (Data Type) ที่ตัวแปรเก็บได้
   Visual Basic ได้แบ่งข้อมูลออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ประเภทของตัวแปร
สัญลักษณ์ 
เนื้อที่ ที่ใช้งาน
ขอบเขตของค่าที่รับได้
Byte
ไม่มี
 1 Byte0 -255
Bolean
ไม่มี
 2 ByteTrue หรือ False
String (จำกัดความยาว)
$
 10 Byte + ความยาวของข้อมูล0 - 2 พันล้านตัวอักษรโดยประมาณ
String (ไม่จำกัดความยาว)
$
ความยาวของข้อความ1 - 65400 ตัวอักษรโดยประมาณ
Integer
%
2 Byte- 32768 ถึง + 32767
Long
&
 4 Byte-2147483648 ถึง + 2147483647
Single
!
 4 Byte-3402823E+38 ถึง -1401298e+45 และ +1401298E-45 ถึง -3402823E+38
Double
#
 8 Byte-494065645841247E-324 ถึง 179769313486232E308 สำหรับจำนวนบวก
Currency
@
 8 Byte-9223372036854775808 ถึง 9223372036584775807
Variant
(เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข)
-
 16 Byteขนาดเท่ากับ Double
Variant
(เก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ)
-
22 Byte + ความยาวของข้อความขนาดเท่ากับ String แบบไม่จำกัดความยาว
Date
ไม่มี
 8 Byte January 1100 ถึง December 319999
Object
ไม่มี
 4 ByteObject ใด ๆ
รายละเอียดของข้อมูล

1.  String
ใช้เก็บข้อความต่าง ๆ หรือชุดตัวเลขในรูปแบบข้อความ
2.  Integer และ Longใช้เก็บค่าของตัวเลขจำนวนเต็ม ซึ่ง Long จะเก็บค่าตัวเลขที่มีขนาดใหญ่
3.  Single และ Doubleใช้เก็บค่าของตัวเลขจำนวนจริง ซึ่ง Double จะเก็บค่าจำวนจริงที่มีขนาดใหญ่
4.  Currencyใช้เก็บค่าตัวเลขที่เป็นจำนวนเงิน
5.  Variantใช้เก็บค่าอะไรก็ได้ โดยจะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของข้อมูลที่มันจัดเก็บ
6.  Booleanใช้เก็บค่าทางตรรกะ ที่มีค่าเป็น True หรือ False
7.  Dateใช้เก็บค่าที่เป็นข้อมูลในรูปแบบ วันที่
8.  Objectใช้อ้างถึง Object ใด ๆ
9.  Byteใช้เก็บข้อมูลในรูปแบบ Binary
 การ Declare ค่าตัวแปร การ Declare ค่าตัวแปร ใน visual Basic นั้น ทำได้ 2 วิธี คือ
    1.    Explicit Declaration กำหนดตัวแปรโดยใช้คำสั่ง

 Dim varname [AS type] [,varname [As type]]... 
โดยที่    Varname              หมายถึง    ชื่อตัวแปร
             Type                 หมายถึง    ประเภทข้อมูล
    การกำหนดลักษณะนี้ สามารถกำหนดได้ทั้งในส่วน General และต้นโปรแกรมของแต่ละ Procedure หรือฟังชัน แต่ทั้ง 2 วิธีจะมีข้อแตกต่างกันคือ ตัวแปรที่ Declare ไว้ในส่วน General จะเป็นตัวแปรส่วน
กลางที่ Procedure หรือฟังชันต่าง ๆ ภายใน Form เดียวกันสามารถใช้งานได้ แต่กรณีที่ Declare ไว้ใน Procedure หรือฟังชัน ตัวแปรที่ Declare ไว้ จะใช้ได้ภายใน Procedure หรือฟังก์ชันที่มีการ Declare
ตัวแปรนั้นไว้เท่านั้น
ตัวอย่าง
Dim Number As Double      หมายความว่า กำหนดให้ตัวแปรชื่อ Number เป็นรูปแบบ ทศนิยม
Dim N As String      หมายความว่า กำหนดให้ตัวแปรชื่อ N เป็นรูปแบบ ตัวอักษร
Dim Point As Double, Grade As Integer หมายความว่า กำหนดให้ตัวแปรชื่อ point เป็นแบบเลขทศนิยม และ ตัวแปรชื่อ Grade เป็นแบบจำนวนเต็ม
2.    Implicit Declaration    การกำหนดประเภทของตัวแปรจะทำในรูป

   varname<Type Identifier> 
เช่น Unit!, Price@ เป็นต้น ซึ่งการกำหนดตัวแปรประเภทนี้ ตัวแปรจะเขียนในลักษณะแบบนี้ตลอดการใช้งานใน Procedure นั้น และจะถือว่าเป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดให้ใช้งานเฉพาะใน Procedure หรือฟังชันนั้นเท่านั้น
<<< กฎการตั้งชื่อตัวแปร >>>
1.    ชื่อของตัวแปรยาวไม่เกิน 40 ตัวอักษร
2.    ตัวแปรตัวแรกจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเสมอ A-Z
3.    ตัวอักษรตัวถัดไปจะเป็นตัวอักษร A-Z หรือ 0-9 หรือ ( - )
4.    ตัวอักษรตัวสุดท้ายนั้นสามารถที่จะใช้สัญลักษณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความหมายของตัวแปรก็ได้
เช่น %, $, # ,@ ! &
5.    ชื่อของตัวแปรจะต้องไม่ซ้ำกับคำเฉพาะ
6.    การตั้งชื่อตัวแปรนั้นสามารถที่จะพิมพ์ตัวเล็กหรือพิมพ์ตัวใหญ่ก็ได้
 ค่าคงที่  (Constant) คือ การแทนค่าข้อมูลด้วยชื่อ เพื่อให้ดูเข้าใจง่าย และทำให้ค่าที่กำหนดนั้นจะคงที่ตลอดไป
รูปแบบ    Const  ชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด
 เช่น     Const  pi = 3.14
Const  VB = “Visual Basic”








 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การออกแบบโปรแกรม
  3. การเขียนโปรแกรม
  4. การทดสอบโปรกรม
  5. การจัดทำเอกสารประกอบ
 การเขียนโปรแกรมกับ Control  
ก่อนที่เราจะเริ่มการเขียนโปรแกรมนั้น เราจะต้องทราบถึงวิธีการใช้ Event และ Method ของแต่ละ Control มาประกอบกับคำสั่งและฟังก์ชัน เพื่อให้ได้โปรแกรมที่สมบูรณ์
    Method หมายถึง    คำสั่งเฉพาะตัวของ Object ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นของ Object ใด Object หนึ่งเฉพาะและที่ใช้กับหลาย Object
   Event หมายถึง   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อคลิกเมาส์ เมื่อกดปุ่ม เป็นต้น
คำสั่งของ Visual Basic แบ่งเป็นกลุ่มเรียกว่า procedure โดย event procedure มีคำสั่งที่ประมวลผลเมื่อเกิด event ขึ้น ซึ่ง event procedure จะเป็นตัว control จะเป็นชื่อของตัว control ตามด้วยเส้นใต้ (under score) และชื่อ event เช่น command 1_Click
 คุณสมบัติ, เมธอด และ Event
โปรแกรมประยุกต์ตอบสนองกับผู้ใช้ผ่าน คุณสมบัติ, เมธอด และ event ซึ่งมี คุณสมบัติ, เมธอด และ event ร่วม ที่ควรรู้จัก ดังนี้
 คุณสมบัติร่วม
1. Left, Top, Width และ Height ใช้จัดตำแหน่งของอ๊อบเจค เช่น การวางฟอร์มที่มุมซ้ายบน มีความกว้าง 5000 twips และสูง 3000 twips
Form1.Left = 0
Form1.Top = 0
Form1.Width = 5000
Form1.Height = 3000
2. ForeColor และ BackColorใช้กำหนดสีของข้อความและสีพื้นหลังของอ๊อบเจค ซึ่งสามารถกำหนดสีเป็นแบบ palette และ system เช่น
กำหนดสีแบบ palette
Label1.ForeColor = vbHighlightText
กำหนดสีแบบ system
Label1.BackColor = &H800000D
3. Font ใช้ กำหนดลักษณะการแสดงตัวอักษร การตั้งค่าคุณสมบัติ Font สามารถใช้ไดอะล๊อกบ๊อกซ์ แต่ในขณะที่กำลังเรียกใช้การกำหนด Font จะยุ่งยากขึ้น เนื่องจาก Font เป็นอ๊อบเจคแบบรวม ประกอบด้วยคุณสมบัติ Name, Size, Bold, Italic, Underline และ StrikeThrough
Text1.Font.Name = "Arial"
Text1.Font.Size = 12
Text1.Font.Bold = True
4. Caption และText ใช้ ในการแสดงข้อความ โดยคุณสมบัติ Caption เป็นข้อความที่ปรากฏภายในตัว control และไม่สามารถแก้ไขได้โดยผู้ใช้เมื่อเรียกใช้โปรแกรม คุณสมบัติ Text ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้
Label1.Caption = "Title"
Text1.Text = "Hello Word"
5. Enabled, Locked และ Visible โดย คุณสมบัติ Visible ใช้กำหนดการมองเห็น คุณสมบัติ Enabled และ Locked กำหนดการเข้าถึงตัว control แต่ต่างกันที่ คุณสมบัติ Enabled ถ้ากำหนดไม่ให้เข้าถึง (Enabled = False) แล้ว ตัว control ไม่สามารถรับโฟกัสได้ ส่วนคุณสมบัติ Locked ถ้ากำหนดไม่ให้เข้าถึง (Locked = True) แล้ว ตัว control ยังสามารถรับโฟกัสได้
Text1.Enabled = (Check1.Value = vbChecked)
Text1.Locked = (Check1.Value = vbChecked)
6. TabStop และ TabIndex ใช้กำหนดลำดับของแท็บ
Label1.Caption = "&Name"
Text1.TabIndex = Label1.TabIndex + 1
7. MousePointer และ MouseIcon ใช้กำหนดไอคอนของเมาส์เมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัว control
Text1.MousePointer = vbCrosshair
   เมธอดร่วม
1. Moveใช้ในการย้ายอ๊อบเจคหรือตัว control และมีไวยากรณ์ คือ
[object.]Move Left [, Top, Width, Height]
เช่น การย้ายฟอร์มไปที่มุมซ้ายบน มีความกว้างและความสูงเป็น 2 เท่าของขนาดเดิม
Form1.Move 0,0, Form1.Width*2, Form1.Height * 2
2. Refresh ใช้ ในการวาดตัว control ใหม่ ตามปกติไม่ใช้เนื่องจาก Visual Basic มีการปรับค่าโดยอัตโนมัติ แต่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ต้องการให้มีการปรับคุณสมบัติทันที เช่น
Dim i As Integer
For i = 1000 to 1 Step - 1
    Label1.Caption = (str(i))
    Label1.Refresh
Next
3. SetFocus ใช้ ย้ายโฟกัสไปที่ตัว control ที่ระบุ แต่จะเกิดความผิดพลาด ถ้าตัว control ที่กำหนดเข้าถึงไม่ได้ หรือมองไม่เห็น ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมธอดนี้ใน Form_Load event และควรใช้ร่วมกับประโยคคำสั่ง On Error
On error Resume Next
Text1.SetFocus
 Event ร่วม
1. Click และ DblClick event   Click event จะเกิดเมื่อผู้ใช้กดปุ่มเมาส์ด้านซ้ายบนตัว control และ DblClick event เกิดเมื่อเป็นการปุ่มเมาส์ด้านซ้ายแบบดับเบิลคลิก

Private Sub Form_Click()
    Dim t As Single
IsClick = True
t = Timer
DoEvents
If Not IsClick Then Exit Sub
Loop Until Timer > t + 0.5 Or Timer < t
txtMonitor = "Click event บนฟอร์ม"
End Sub
 2. Change event เป็น event พื้นฐานที่เกิดเมื่อข้อมูลของตัว control มีการเปลี่ยนแปลง
3. GotFocus และ LostFocus event  GotFocus event เกิดขึ้นเมื่อตัว control ได้รับการโฟกัส เช่นเมื่อเมาส์เลื่อนมาถึง และ LostFocus event เกิดเมื่อการโฟกัสออกไปจากตัว control
4. KeyPress, KeyDown และ KeyUp event เป็น event ที่เกิดเพื่อกดปุ่มแป้นพิมพ์ ขณะที่ตัว control ได้รับการโฟกัส โดยมีลำดับดังนี้ KeyDown (เมื่อผู้ใช้กดปุ่มแป้นพิมพ์) KeyPress (Visual Basic แปลปุ่มนั้นเป็นรหัส ANSI) และ KeyUp (เมื่อปล่อยปุ่มแป้นจากพิมพ์)
5. MouseDown, MouseUp และ MouseMove event เป็น event ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการคลิก, ปล่อย หรือย้าย ของเมาส์บนตัว control
 คำสั่งตัดสินใจ
 If…Then…Else  ตัดสินใจเลือกจาก  2  ทางเลือก  (เลือก Yes/No)
รูปแบบ     If <ทดสอบเงื่อนไขว่าจริง  หรือเท็จ>  Then
                                   ถ้าเป็นจริงให้ทำงานหลังคำว่า Then
                        Else
                                   ถ้าเป็นเท็จให้ทำงานหลังคำว่า  Else
                       End If

 Select…Case ตัดสินใจเลือกมากกว่า  2  ทางเลือก
                การตัดสินใจเลือก  จากทางเลือกที่มีมากกว่า  2  ทางเลือก
รูปแบบ    Select Case     <ทดสอบเงื่อนไข>
                        Case  เงื่อนไขแรก  :
                                   <ทำงานตามเงื่อนไขแรก>
                        Case  เงื่อนไขที่สอง :
                                   <ทำงานตามเงื่อนไขที่สอง>
                                           .
                                           .
                                           .
                       Case  สุดท้าย  :
                                   <ทำตามเงื่อนไขสุดท้าย>
                       Case Else
                                   <เมื่อไม่ตรงกับเงื่อนไขใดๆ เลย ทำงานหลังคำว่า  Else>
                       End Select       








 ฟังก์ชันสำหรับเขียน Program
ฟังก์ชัน    หมายถึง    ชุดคำสั่ง (Routine) ที่ใช้ช่วยในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการส่งค่าฟังก์ชันต้องการไปให้เพื่อให้ฟังก์ชันคืนค่ากลับมา
คำสั่ง หมายถึงคำสั่งโดยทั่วไปที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น กลุ่มคำสั่ง Branching กลุ่มคำสั่ง Iteration เป็นต้น
- ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับ String
- ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับตัวเลข
- คำสั่งและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ Date และ Time
- คำสั่ง MsgBox

 ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับ String

ชื่อ
ประเภท
รูปแบบของคำสั่ง
หน้าที่ในการใช้งาน
Ascฟังก์ชันAsc(String)แสดงค่ารหัส ASCIi ของอักษรที่ระบุใน String
Chr$/Chrฟังก์ชันChr(charcode)แปลงค่ารหัส ASCII ที่ระบุใน Charcode ไปเป็นตัวอักษร
Format$/Formatฟังก์ชันFormat(expression.format)กำหนดรูปแบบของ expression ตามรูปแบบที่กำหนดใน format
InStrฟังก์ชันInStr([start, ]string1,string2[, compare])หาตำแหน่งของคำ string2 ใน string1 โดยเริ่มจากตำแหน่งที่ start ตามแบบในการเปรียบเทียบที่กำหนดใน compare
LCase$/LCaseฟังก์ชันLCase(string)แปลงตัวอักษรใน string ให้อยู่ในรูปตัวอักษรตัวเล็ก
Left$/Leftฟังก์ชันLeft(string,length)ตัดคำของ string จากซ้ายไปขวาตามจำนวนที่ระบุใน length
Lenฟังก์ชันLen(string)แสดงความยาวของคำใน String
LSetLset stringvar =stringจัดคำใน String ให้ชิดซ้ายแล้วกำหนดให้กับ    Stringvar
Ltrin$/Ltrim ฟังก์ชันLtrim(string)ตัดช่องว่างใน string จากซ้ายไปขวา
Mid$/Mid ฟังก์ชันMid(string,start[,length])ตัดคำใน String จากตำแหน่ง Start ตามจำนวนที่ระบุใน Length
Right$/Right ฟังก์ชันRight(string,length)ตัดคำใน String จากขวาไปซ้ายตามตำแหน่งที่ระบุใน Length
Rset คำสั่งRset stringvar = stringจัดคำใน String ให้ชิดขวาแล้วกำหนดให้กับ    Stringvar
Rtrim$/Rtrimฟังก์ชัน Rtrim(string)ตัดช่องว่างของคำใน String จากขวาไปซ้าย
Space$/Space ฟังก์ชันSpace(number)แสดงช่องว่างตามจำนวนที่กำหนดใน number
Str$/Str ฟังก์ชันStr(number)แปลงค่าของตัวเลขใน number ให้เป็น String
String ฟังก์ชันString(number,character)แสดงตัวอักษรใน character ซ้ำตามจำนวนที่กำหนดใน number
Trim$/Trim ฟังก์ชันTrim(string)ตัดช่องว่างออกจากคำใน String
UCase$/Ucase ฟังก์ชันUCase(string)แปลงตัวอักษรใน String ให้อยู่ในรูปแบบตัวอักษรตัวใหญ่
 ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับตัวเลข

ชื่อ
ประเภท
รูปแบบคำสั่ง
หน้าที่
Abs ฟังก์ชันAbs(number)แสดงคำว่า Absolute ของเลขใน number
Atn ฟังก์ชันAtn(number)แสดงค่ามุมของตัวเลขใน number
Cos ฟังก์ชันCos(number)แสดงค่า Cosine ของตัวเลขใน number
Exp ฟังก์ชันExp(number)แสดงเลขฐาน E ของตัวเลขใน number
Fix ฟังก์ชันFix(number)ตัดเศษและแปลงตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปแบบ Integer
Hex$/Hex ฟังก์ชันHex(number)แปลงค่าของตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปแบบเลขฐาน 16 
Int ฟังก์ชันInt(number)ปัดเศษของตัวเลขใน number ลงเพื่อให้อยู่ใน Integer
Log ฟังก์ชันLog(number)แสดงค่า Logarithm ของตัวเลขใน number
Oct$/Oct ฟังก์ชันOct(number)แปลงค่าตัวเลขใน number ให้อยู่ในรูปฐาน 8 
Randomize คำสั่งRandomize(number)หา Randow Number ของตัวเลขใน number
Rnd ฟังก์ชันRnd(number)หา Randow Number ของตัวเลขใน number ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ1
Sgn ฟังก์ชันSgn(number)แสดงเครื่องหมายของตัวเลขใน number
Sin ฟังก์ชันSin(number)แสดงค่า Sine ของมุมที่กำหนดใน number
Sqr ฟังก์ชันSqr(number)แสดงค่ารากของตัวเลขที่กำหนดใน number
Tan ฟังก์ชันTan(number)แสดงค่า Tangent ของมุมที่กำหนดใน number
Val ฟังก์ชันVal(number)แปลงค่าของ String ให้อยู่ในรูปของตัวเลข
 คำสั่งและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ Date และ Time

ชื่อ
ประเภท
หน้าที่การใช้งาน
 CVDate / CDate ฟังก์ชันเปลี่ยนวันที่จาก String หรือตัวเลขให้เป็น Date
Date / Date$ ฟังก์ชันคืนค่าของวันที่ปัจจุบัน
DateSerial ฟังก์ชันแสดงวันที่ในรูปแบบ Integer
DateValue ฟังก์ชันแสดงวันที่ในรูปแบบ String
Day ฟังก์ชันแสดงวันที่ (1-3)
Hour ฟังก์ชันแสดงชั่วโมง (0-23)
Minute ฟังก์ชันแสดงนาที (0-59)
Month ฟังก์ชันแสดงเดือน (1-12)
Now ฟังก์ชันแสดงวันที่ปัจจุบัน
Second ฟังก์ชันแสดงวินาที (0-59)
Time / Time$ ฟังก์ชันแสดงเวลาปัจจุบัน
TimeSerial ฟังก์ชันแสดงวันที่ในรูปแบบของตัวเลข
TimeValue ฟังก์ชันแปลงเวลาจาก String ไปเป็น Date
WeekDay ฟังก์ชันแสดงวันในสัปดาห์ (1-7)
Year ฟังก์ชันแสดงปี (100-9999)
 คำสั่ง MsgBox

ชื่อ
ค่าตัวเลข
หน้าที่ในการใช้งาน
vbOKOnly
0
สำหรับแสดงปุ่ม OK
vbOKCancel
1
สำหรับแสดงปุ่ม OK และ Cancel
vbAbortRetryIgnore
2
สำหรับแสดงปุ่ม Abort, Retry และ Ignore
vbYesNoCancel
3
สำหรับแสดงปุ่ม Yes, No และ Cancel
VBYesNO
4
สำหรับแสดงปุ่ม Yes และ No
vbRetryCancel
5
สำหรับแสดงปุ่ม Retry และ Cancel
vbCritial
16
แสดง Icon "Critical Message"
vbQuestion
32
แสดง Icon "Warning Query"
vbExclamation
48
แสดง Icon "Warning Message"
vbInformation
64
แสดง Icon "Information Message"
vbDefaultButton1
0
กำหนดให้ปุ่มแรกเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton2
256
กำหนดให้ปุ่มที่สองเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton3
512
กำหนดให้ปุ่มที่สามเป็นปุ่ม Default
vbDefaultButton4
768
กำหนดให้ปุ่มที่สี่เป็นปุ่ม Default
vbApplicationModal
0
กำหนดให้ MsgBox อยู่ในรูป Application Modal ซึ่งเป็น Dialog Box ที่ต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
vbSystemModal
4096
กำหนดให้ Msgbox อยู่ในรูปแบบ System modal ซึ่งเป็น Dialog Box ที่สามารถทำงานไปพร้อมกับ Windows อื่นได้
vbMsgBoxHelpButton
16384
แสดงปุ่ม Help
vbMsgBoxSetForeground
65536
กำหนดให้ MsfgBox ไม่ได้เป็น Default Window
vbMsgBoxRight
524288
กำหนดให้ข้อความชิดขวา
vbMsgBoxRtlReading
1048576
กำหนดให้ข้อความปรากฎจากขวาไปซ้ายเพื่อการอ่านใน Hebrew และ Arabic









   การสร้าง Menu
             
Menu เป็นทางเลือกอีกหนึ่งทาง ที่จะสามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลตามที่เราต้องการได้เร็วและไม่เสียเวลาใน การใช้งานกับโปรแกรมนั้น ๆ การสร้าง Menu นั้น ก่อนอื่นเราจะต้องกำหนด Form ที่เราต้องการ
สร้าง แล้วให้เลือกที่ Menu Tools และ Menu Editor ตามลำดับ และมีอีกหนึ่งวิธี คือ คลิกที่     menu
Icon "Menu Editor ใน Toolbar ก็ได้ ดังภาพข้างล่างนี้
mnu1
จากนั้นเราก็จะได้หน้าต่างสำหรับทำ Menu ดังรูป

mnu2
ส่วนที่น่าสนใจใน Menu นี้ก็จะมี ดังนี้

Caption
ใช้สำหรับใส่ข้อความที่ต้องการให้แสดงเป็น Menu
Nameใช้สำหรับกำหนดชื่อให้กับเมนู
Shortcutใช้สำหรับกำหนด Hot Key ให้กับ Menu เช่น Ctrl + O
Checkedใช้สำหรับกำหนดให้ Menu นั้นเป็นแบบ On/Off (จะเป็นเครื่องหมายถูกอยู่หน้า Menu)
Enabledใช้สำหรับกำหนดให้ Menu นั้นทำงานหรือไม่
Visibleใช้สำหรับกำหนดให้ Menu นั้นแสดงบนจอภาพหรือไม่
Window Listใช้กำหนดว่า Menu ดังกล่าวมี Menu ย่อยหรือไม่
ตัวอย่าง การสร้าง Menu
1.    เปิด Project ใหม่ขึ้นมา แล้วคลิกที่ Menu Tools และคลิกที่ Menu Editor ตามลำดับ แล้วให้ใส่ข้อความ "&File" ในช่อง Caption และ "Menufile" ลงในช่อง Name ดังรูป
mnu3
2.    จากนั้นให้เราคลิกที่ปุ่ม mnu_nextเพื่อสร้าง Menu ถัดไป Menu ถัดไปจะเป็น Menu ย่อยของเมนู File ดังนั้นจึงให้เรากดที่ปุ่ม mnu_arจะปรากฎเครื่องหมาย TAB (ทททท) ซึ่งนั่นก็หมายถึง เมนูดังกล่าว
เป็นเมนูย่อย แล้วให้เราใส่ข้อความ "&New" ในช่อง Caption และ "Menunew" ในช่อง Name ดังรูป
mnu4
3.    ต่อจากนั้นให้เราเพิ่มข้อความ "&OPen", "&Save", "Save AS.." แต่ถ้าหากว่าต้องการขีดเส้นใต้เพื่อคั่นระหว่างเมนูก็ให้เพิ่ม "-"  "&Print" และ "&Exit" ตามลำดับ ไว้ในช่อง Caption ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเมนู ดังรูป  

mnu5
4.    ทำการ Run ก็จะได้เมนูตามที่เราได้กำหนดไว้
mnuexe